วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

การเคลื่อนที่แนวตรง

 ความรู้เกี่ยวกับ  แรง  การเคลื่อนที่  และพลังงาน  เป็นพื้นฐานที่สำคัญของวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์ซึ่งมุ่งศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสสารและพลังงาน  ทำให้เราเข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ  ในธรรมชาติรอบตัว  รวมทั้งสถานการณ์ต่างๆ  ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน  เช่น  การเคลื่อนที่ของสิ่งต่างๆบนโลก  ภายใต้สนามของแรงโน้มถ่วง  สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก  องค์ประกอบและสมบัติของคลื่นกล  และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  กัมมันตภาพรังสีและพลังานนิวเคลียร์  ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษารายละเอียดต่อไปในหนังสือเล่มนี้  ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการต่างๆของฟิสิกส์จะช่วยให้นักเรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและในการทำงานต่างๆมากมาย  รวมถึงเป็นพื้นฐานในการศึกษาวิทยาศาตร์สาขาอื่นๆ  อย่างกว้างขวางอีกด้วย
            ความรู้ทางฟิสิกส์ได้รับการพัฒนามาจากการสังเกต  การสำรวจตรวจสอบและความคิดของหลายคนสะสมและพัฒนาขึ้นมาเป็นเวลายาวนาน  ในลักษณะที่เป็นหลักการ  กฏ  และทฤษฏี  ซึ่งองค์ความรู้ต่างๆ  มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปตามที่มีประจักษ์พยาน  มีการค้นพบและมีข้อมูลมากขึ้น  เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้ความรู้ทางฟิสิกส์พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบันความรู้ทางฟิสิกส์และกิจกรรมที่นักเรียนจะได้ปฏิบัติในหนังสือเล่มนี้เป็นเพียงความรู้เบื้องต้น  ซึ่งจะเป็นพื้นฐานให้นักเรียนเกิดความคิด  และความเข้าใจเกี่ยวกับโลกธรรมชาติ  และนำความรู้มาใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงและเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อที่สูงขึ้นได้ อ่านเพิ่มเติม


แรงและการเคลื่อนที่ 
   1.
เวกเตอร์ของแรง 
      แรง (force) หมายถึง สิ่งที่สามารถทำให้วัตถุที่อยู่นิ่งเคลื่อนที่หรือทำให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นหรือช้าลง หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุได้ อ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การเคลื่อนที่แนวตรง

ปริมาณกายภาพ

ปริมาณทางกายภาพ คือ สิ่งที่สามารถบอกค่าได้แน่นอน วัดและกำหนดค่าได้และใช้แสดงกฎเกณฑ์ต่างๆ แบ่งได้ 2 ประเภทได้แก่
                 1. 
ปริมาณสเกลาร์ คือปริมาณที่บอกแต่ขนาดเพียงอย่างเดียวก็ได้ความหมายสมบูรณ์ ไม่ต้องบอกทิศทาง เช่น มวลสาร พื้นที่ ปริมาตร ความหนาแน่น ฯลฯ การหาผลลัพธ์ของปริมาณ สเกลาร์อาศัยหลักการทางพีชคณิต คือวิธีการบวก ลบ คูณ หาร
                 2. 
ปริมาณเวกเตอร์ คือ ปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง เช่น การกระจัด ความเร็ว ความเร่ง น้ำหนัก แรง ฯลฯ ปริมาณเวกเตอร์เขียนแทนด้วยลูกศร ขนาดความยาวของลูกศรจะเท่ากับขนาดของปริมาณเวกเตอร์ส่วนทิศทางของลูก ศรจะแสดงทิศทางของปริมาณเวกเตอร์